บทความที่ได้รับความนิยม

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ NAT แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ NAT แสดงบทความทั้งหมด

NAT : Network Address Translation



ก่อนอื่นมาเข้าใจกันก่อนว่า...

การสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะมีการกำหนด IP Address ซึ่งเป็นหมายเลขที่ใช้สำหรับระบุตัวตนของผู้ใช้งาน (หมายเลข IP จะเป็นกลุ่มเลข 4 ชุด เช่น 202.153.148.21 เป็นต้น) ซึ่งแต่ละคนจะมีหมายเลข IP Address ไม่ซ้ำกัน อย่างไรก็ตามโดยปกติ IP Address ของคุณที่ได้รับเวลาเล่น internet ผ่านทาง ISP จะได้รับเป็นหมายเลขแบบสุ่ม
ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Internet มากมาย ทำให้ IP Address ที่แจกจ่ายให้นั้น ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหา IP ไม่เพียงพอ สามารถทำได้โดยใช้วิธีการทำ Network Addrsss Translation (NAT) หรือการสร้างตารางการจับคู่ของ IP แบบสุ่ม (ตัวอย่าง : สมมุติว่าองค์กรมีคอมพิวเตอร์ 50 เครื่องที่ต้องการเล่น internet และมี Registered IP จาก ISP 2 หมายเลข การทำ NAT แบบสุ่ม จะมีการตรวจสอบว่า IP ใดว่างก็จะมีการใช้ IP นั้นๆ) สำหรับอุปกรณ์สำหรับทำ NAT สามารถทำได้จากอุปกรณ์ที่เรียกว่า Router หรือ Firewall

หลักการทำงานของ NAT

โดยทั่วไปในระบบเครือข่ายภายในองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มี Server เป็น Windows NT, 2000 server จะมีการกำหนด IP ภายในองค์กรที่เรียกว่า private IP เช่น 192.168.0.1 หรือ 10.0.0.1 เป็นต้น IP เหล่านี้จะเป็น IP จะไม่สามารถนำไปใช้งานในระบบอินเตอร์เน็ตได้ การทำ NAT จะเป็นการแปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ หรือที่เราเรียกว่า Registered IP

สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ NAPT


จากรายละเอียดข้างต้น ยังไม่สามารถอธิบายความสามารถของการทำ NAT ได้ ดังนั้นขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NAPT : Network Address Port Translation โดยรายละเอียดแล้ว การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้ช่องทางสื่อสาร TCP/IP จะประกอบด้วย
Source IP Address
Source Port
Destination IP Addrss
Destination Port


ซึ่งทั้งหมดนี้ รวมเรียกว่า Socket และตัว Socket นี้เองจะเป็นตัวกำหนดว่าการสื่อสารนั้นยังคงดำเนินการต่ออยู่หรือไม่ และเนื่องจากจำนวน port ใน Firewall จะมีจำนวน ports ถึง 65,535 (สำหรับ server 1024 ports) ดังนั้นจะมี ports คงเหลือ 64,511 ทำให้เราสามารถต่ออินเตอร์เน็ตภายในองค์กร โดยใช้ Registred IP เพียงไม่กี่หมายเลข และนี่คือความสามารถพิเศษในการใช้งานในส่วนของ NAPT นั่นเอง